* CHIANG SAEN * CHIANG SAEN * CHIANG SAEN * CHIANG SAEN * CHIANG SAEN *
เมืองเชียงแสนเป็นชื่อเดิมว่าเวียงเก่า เป็นเมืองที่เก่าแก่ของประเทศไทย ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโขงหรือชาวบ้านเรียกว่าแม่น้ำของ ติดกับประเทศลาว ต้นแม่น้ำนี้อยู่ในประเทศธิเบตจีน เรียกชื่อว่าแม่น้ำลานฉอง ก่อนที่เราจะพูดถึงเรื่องราวของเมืองเชียงแสน เราขอย้อนกับไปถึงความเป็นมาของอาณาบริเวณแถบนี้ตั้งแต่อดีตก่อนโน้นซึ้งมีปรากฎในตำนานต่างๆดังนี้
ตำนานสิงหนวัตได้กล่าวไว้ว่า พระเจ้าสิงหนวัติราชโอรสของ พระเจ้าเทวกาล กษัตรย์เมืองนครไทยเทศ เมืองไทยในมณฑลยูนานได้อพยพครอบครัวลงมาสร้างเมืองขึ้นเรียกว่า "เมืองนาคพันธุ์สิงหนวัตินคร" หรือเมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแสน ซึ่งต่อมาในรัชสมัยพระเจ้ามหาไชยชนะ พ.ศ. 1088 มหาศักราช 467 เมืองนี้ได้ล่มไปคือเมืองหนอง ตำบลท่าข้าวเปลือก อ. แม่จัน"
ในพงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสนกล่าวว่า ท้าวลวจังกราชซึ่งเกิดโดยโอปปาติก(เกิดเอง)ได้เป็นกษัตริย์สร้างเมืองเงินยางขึ้น เมื่อปีกุนเอกศก ตติยศักราช ๑ ( จุลศักราช ๑๑๘๑ ) เมืองนี้มีชื่อว่าศรีเชียงแสน เมืองนี้ได้ตั้งอยู่ตลอดมาจนถึงรัชสมัยพระเจ้ามังราย และต่อมาพระเจ้ามังรายได้มาตีเมืองลำพูนได้แล้วไปสร้างเมืองกุ่มก๋วม หมายถึงสร้างเมืองครอบน้ำแม่ระมิงค์ไว้ทั้งสองภาค คำว่า เมืองกุ่มก๋วมหมายถึงครอบ
ซึ่งในระยะนี้เมืองหิรัญนครเงินยางคงจะกลายเป็นเมืองร้างเพราะปรากฎว่าพระเจ้ามังรายโปรดให้เจ้าแสนภูราชนัดดาไปทำการบูรณะ แต่ในตำนานสิงหนวัติคือประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๑ ได้กล่าวไว้ในหน้า ๑๕๘ ว่า ในกลานั้นพระยามังรายและพระยามังครามเจ้าสองพ่อลูกจึงปรึกษากันว่า ควรเราจะมีอาชญาให้เจ้าแสนภูตนเป็นหลานนั้นไปเลือกตั้งเวียงเงินยางเชียงแสนให้คืนเป็นเวียงแถมแล ดังนี้
เจ้าพระยามังคราม โอรสองค์กลางของพระเจ้ามังรายซึ่งครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ โดยตั้งอยู่ที่เมืองเชียงรายนั้น มีราชบุตรอยู่ ๓ องศ์คือ องค์พี่มีชื่อว่า เจ้าแสนพู องค์ที่ ๒ ชื่อว่า เจ้าน้ำท่วม องค์ที่ ๓ ชื่อว่า เจ้าน้ำน่าน พระเจ้ามังรายจึงมีรับสั่งกับเจ้าขุนครามว่าจะให้เจ้าแสนพูไปตั้งเวียงเงินยางเชียงแสนที่ร้างไปนั้น ให้เป็นบ้านเมืองขึ้นใหม่และให้เจ้าแสนพูอยู่ครองเมืองนั้น ส่วนเจ้าน้ำท่วมให้ไปครองเมืองฝาง เจ้าน้ำน่านให้ไปครองเมืองเชียงของ เจ้าขุนครามก็เห็นด้วยและเรียกตัวราชบุตรทั้ง ๓ มารับมอบหมายตามรับสั่ง
ฝ่ายเจ้าแสนพูเมื่อรับสั่งแล้ว ก็พร้อมด้วยไพร่พลพร้อมด้วยครอบครัวลูกเมียของเสนาอำมาตย์ราษฎรทั้งปวง ออกเดินทางในวันอังคารเดือน ๓ ขึ้น ๕ ค่ำปีกุน พ.ศ ๑๘๓๐ โดยลงเรือพ่วงล่องไปตามแม่น้ากกเดินทางได้ ๗ คืนก็ถึงแม่น้ำโขงก็ขึ้นตามแม่น้ำโขงไปได้หน่อยหนึ่ง ครั้นถึงวันอังคารขึ้น ๑๒ ค่ำ ก็ถึงท่าเชียงเหล้าหัวคอนม่อน ก็หยุดพักเอาชัยที่เวียงปรึกษา ซึ่งปัจจุบันเรียกว่าเชียงแสนน้อย ซึ่งอยู่ฝั่งแม่น้ำโขง ข้างตะวันตกก่อนแล้วเจาแสนพูจึงจัดให้ผู้เฒ่าผู้แก่นักปราชญ์ ผู้รู้โบราณมาแล้วจัดการทำพิธี และทำการบูรณะเมืองโยนกนาคพันธุ์ซึ่งกลายเป็นเมืองร้างนั้นขึ้นใหม่มีประตูทั้งหมด ๑๑ แห่ง คือทางทิศเหนือ มีประตู นางเลิ้ง
๒. ทางริมแม่น้ำโขงมีประตูรั้วปีก
ต่อมาอีก๒ปีถึง พ.ศ ๑๘๓๒ เจ้าแสนพูได้สร้างเจดีย์สวมครอบพระเจดีย์เก่าที่วัดแจ้งศรีบุญเรือง ซึ่งหักพังไปนั้น สูง๘วาวัดนี้มีศิลาจารึกว่า เป็นที่บรรจุพระบรมธาตุ ๖๐ องศ์ ต่อมาในปี พ.ศ ๑๘๓๓ เดือนเหนือขึ้น ๑๕ ค่ำวันศุกร์ สร้างทางวิหารหลวงและสร้างพระเจดีย์สูง๒๙วา กว้าง๑๔ และพร้อมกันนี้ได้บูรณะปฎิสังขรณ์พระธาตุจอมกิตติ พระธาตุดอยปู๋เต้า พระธาตดอยรัง
ในปี พ.ศ ๑๘๓๘ มีพระมหาเถรเจ้าชื่อพระพุทธโฆษาจารย์ มาแต่เมืองปาฎลิบุตร เชิญเอาพระบรมธาตุ(กระดูกขิอเท้าข้างขวา) มาถวายพระเจ้าแสนพู จึงโปรดให้สร้างพระมหาเจดีย์บรรจุ ไว้ที่นอกเมืองตรงประตูเชียงแสนด้านตะวันตก และสร้างพระอารามกว้าง๕๐ วาแล้วเอาต้นไม้สักปลูกแวดล้อมไว้๓๐๐ต้น เรียกว่าวัดป่าสัก แล้วสถาปนาพระพุทธโฆษาจารย์เป็นพระสังฆราชสถิตอยู่ ณ.วัดนั้น
เจ้าแสนพูได้ครองเมืองเชียงแสนสืบต่อมา จนถึงปี พ.ศ ๑๘๕๖ เจ้าขุนครามพระชารบิดา ซึ่งครองราชสมบัติ ณ.เมืองเชียงใหม่สวรรคต เจ้าแสนพูจึงส่งไปเสวยราชสมบัติ ณ.เมืองเชียงใหม่ พระองศ์ครองเมืองเชียงแสนอยู่นาน๒๕ปี แล้วให้หมื่นเจตราพันนาขวา และนายช่างการถมพันนาซ้าย๒คนพี่น้องซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้อง ให้ครองเมืองเชียงแสน ครั้งในปี พ.ศ ๑๘๖๒หมื่นเจตรา ได้ถึงแก่กรรม จึงโปรดให้เจ้าคำปูราชโอรสขึ้นมาครอง ต่อมาในปี พ.ศ ๑๘๗๕ พระเจ้าแสนพูได้เสด็จมาครองเมืองเชียงแสนอีกครั้งหนึ่ง และครองอยู่ได้๒พรรษา ถึงปี พ.ศ ๑๘๗๗ก็สวรรคต ณ.เมืองเชียงแสน เจ้าคำพูได้เสวยราชย์ต่อมา และได้ให้เชิญพระศพพระราชบิดาไปประดิษฐานไว้ ณ.เวียงเหนือปากแม่น้ำกก เรียกว่า ตำบลท่ากาดเปลือก พระเจ้าคำปูจึงให้ท้าวผายูโอรสมาครองเมืองเชียงแสนแล้วพระองศ์ไปครองเมืองเชียงใหม่ แต่ต่อมาในปี พ.ศ ๑๘๙๙ พระเจ้าคำปูสวรรคต เจ้าท้าวผายูจึงได้ครองเมืองเชียงใหม่และให้เจ้าท้าวกือนาราชโอรส มาครองเมืองเชียงแสน ต่อมา พ.ศ ๑๙๐๖ พระเจ้าผายูสวรรคต เจ้าท้าวมหาพรหมอนุชา ให้ครองเมืองเชียงแสน และหัวเมืองภาคเหนือทั้งมวล คือเมืองเชียงราย เมืองฝาง เมืองสาด แต่เจ้ามหาพรหม หาได้ประทับที่เมืองเชียงแสนไม่ คงประทับอยู่ที่เมืองเชียงราย และในปี พ.ศ ๑๙๐๙ได้สร้างวัดบุญยืนขึ้น สร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุ และธาตุพระอรหันต์ไว้ที่เมืองเชียงแสน ในปีเดียวกันนั่นเอง ก็มีศึกฮ่อมาติดเมืองเชียงแสน ลูกขุนหมายนาผู้หนึ่ง ทำความชอบรบชนะพวกฮ่อ จึงโปรดให้เป็นพระยาศรีสิทธิไชยสงครามลุ่มฟ้าครองเมืองเชียงแสน
เชียงแสนเมืองเก่า
๓. ประตูท่าอ้อย
๔. ประตูท่าสุกัม
๕. ประตูท่าหลวง
๖. ประตูท่าเสาศิน
๗. ประตูท่าคาว เป็นประตูเมืองทางด้านทิศตะวันออกนี้ ถูกแม่นํ้โขงพัดเซาะพังทลายลงในน้ำเสียเมือประมาณ ๖๐-๗๐ ปีมานี้ เวลานี้คงเหลือแต่ประตูทางด้านทิศเหนือด้านใต้และด้านทิศตะวันตก คือประตูท่าม้าทาง หางเวียง(ประตูทางด้านทิศใต้นี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ประตูทัพม่าน)ซึ่งเป็นประตูที่๘
ประตูที่๙ คือประตูดินขอ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
ประตูที่๑๐ ประตูเชียงแสน ทางทิศตะวันตก
ประตูที่๑๑ ประตูหนองมุด ทางตะวันตกเฉียงเหนือแจ่งหัวรินรวมแล้วมี๑๑ประตู
ได้ทำการแผ้วถาง อยู่จนถึงวันเดือน๓เหนือวันศุกร์ขึ้น๑๕ค่ำยามเดือนงาย เป็นเวลา๓วันเจ้าแสนพูก็ยกพลลงเรือไปขึ้นที่ท่าแจ้งสี ก็หยุดพักที่นั้น แล้วยกขึ้นท่าควานปูเต้าเสด็จออกจากเรือแล้วก็ขึ้นไปสักการะบูชาไหว้มหาธาตุดอยปู๋เต้ากระทำประทักษิณ๓รอบแล้วจึงล่องมาเสด็จเข้าสู่เวียงยามเที่ยง พักเอาชัยมงคลที่ริมประตูยางนั้นก่อน แล้วก็ให้เสนาอำมาตย์ทั้งหลายก่อกำแพงเมืองและสร้างคุ้มหลวงที่เก่ากลางเวียงนั้น ทำการบูรณะอยู่ได้๓เดือนพอถึงเดือน๖เพ็ญวันอังคารยามแถรจึงแล้วเสร็จ เจ้าแสนพูจึงเข้าสถิตในหอคำหลวง แล้วให้อำมาตย์ราชครูนักปราชญ์อาจารย์ทั้งหลายทำพิธีอุปภิเษกเป็นเจ้าแก่รัฐไชยบุรีศรีเชียงแสนในวันนั้น และโปรดให้ทำการบูรณะวัดเชียงมั่นขึ้นในวันเดือน๑๐เพ็ญปีนั้เอง(พ.ศ ๑๘๓๐)แล้วโปรดให้หมื่นเจตรา กับนายช่างการถม ผู้เป็นบุตรของขุนเครื่อง คำโอรสองค์โตของพระเจ้าเม็งราย ซึ่งถูกพระบิดาสงสัยว่าจะคิดกบฎ จึงให้ยิงเสียด้วยธนู ณ.ที่บ้านเวียงยิงนั้น มาเป็นพันนาขวาและพันนาซ้าย และแต่งตั้งขุนนางเจ้าเมืองบรรดาเมืองขึ้นของเมืองเชียงแสนอีก ๓๒ ตำแหน่ง และจัดการปกครองเมืองเชียงแสนโดยแบ่งเป็นจตุสดมภ์คือ ๑ หาญราชวัง มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการคุ้ม ๒ หาญราชโกฎิ์ คือตำแหน่งคลังยุ้งฉางเสบียงอาหาร ๓ หาญบ้านทำการปกครองดูแลพวกพลเมือง กิจการบ้านเมืองภายใน ๔ หาญเมืองมีหน้าที่ราชการต่างเมือง
สารบัญ
ขอให้คุณเขียนจดหมายมาหาเรา
ให้คุณใช้ตู้ไปรษณีย์ได้ที่นี้
Schreiben Sie an Thailand online!
Mail to Thailand online!
Hier ist der Briefkasten für die Besucher von Thailand online:
Here is the Mailbox for the visitors of Thailand online:
Zu den Seiten der Bergvölker von Nord-Thailand:
Zur Seite der Karen: | Zur Seite der Hmong: |
Zu den Seiten über die thailändische Sprache:
Zurück zur Willkommens-Seite:
copyright 1996 - 2005 © thailand publications switzerland