* CHIANG SAEN * CHIANG SAEN * CHIANG SAEN * CHIANG SAEN * CHIANG SAEN *
Chiang Saen National Museum
มีแหล่งโบราณคดีทั้งสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์ปรากฏอยู่เป็นจำนวนมาก ฉะนั้น การจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ แห่งนี้จึงมุ่งเน้นไปในเรื่องราวของประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับการตั้งหลักแหล่งของชุมชน เครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคสังคมล่าสัตว์และสังคมเกษตรกรรม เรื่อยมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ จัดจำแนกโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดแต่งโบราณสถานในเมืองเชียงแสนออกเป็นกลุ่มๆ ตามแหล่งที่ขุดพบ พร้อมทั้งให้ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดี เพื่อประโยชน์ของนักเรียน นักศึกษา ประชาชน และนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่มาเที่ยวชมเมืองเชียงแสน
แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ได้แก่
๑. อาคารจัดแสดงหลักชั้นล่าง แบ่งออกเป็น ๕ หัวเรื่อง ได้แก่ เรื่องภูมิสถานเมืองเชียงแสน ประวัติศาสตร์และการตั้งถิ่นฐานของเมืองเชียงแสน วัฒนธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของมนุษย์ในสังคมล่างสัตว์และสังคมเกษตรกรรม เรื่องลวดลายปูนปั้นจากวัดป่าสัก เรื่องจารึกที่พบในเมืองเชียงแสนและพื้นที่ใกล้เคียง และเรื่องพัฒนาการของเครื่องถ้วยล้านนาในจังหวัดเชียงราย ซึ่งนับเป็นแหล่งศักษาค้นคว้าเครื่องถ้วยล้านนาที่ผลิตจากแหล่งเตาในจังหวัดเชียงรายที่สำศัญแห่งหนึ่ง
๒. อาคารจัดแสดงหลักชั้นลอย แบ่งออกเป็น ๒ หัวเรื่อง ได้แก่ เรื่องโบราณสถานที่สำศัญในเมืองเชียงแสนและเรื่องโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้นและขุดแต่งทางโบราณคดีตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๐-ปัจจุบัน ทั้งในเมืองเชียงแสน และพื้นที่อื่นๆ ในจังหวัดเชียงราย อาทิ พระพุทธรูป เครื่องประดับเจดีย์ แผ่นอิฐที่จารึก และเครื่องสำริด เป็นต้น
๓. อาคารส่วนขยาย จัดแสดงเกี่ยวกับชาติพันธุ์วิทยา แบ่งออกเป็น ๓ หัวเรื่อง ได้แก่ เรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มชนแถบลุ่มน้ำโขง อาทิ เครื่องมือ ที่ใช้ในการทำมาหากินในชีวิตประจำวัน เครื่องดนตรีพื้นเมือง ดาบและอาวุธต่างๆ เรื่องเมืองเชียงแสนในอดีกล่าวถึงพัฒนาการของเมืองเชียงแสนในสมัยรัตนโกสินทร์เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าๆให้ชาวลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ เข้าไปอาศัยอยู่ในเมือง เชียงแสน และฟื้นฟูเมืองขึ้นใหม่ การเข้ามาของกลุ่มชนต่างๆ เช่น ไทยลื้อ ไทยใหญ่ รวมทั้งชาวเขาเผ่าต่างๆ โดยได้รวบรวมเครื่องเขินของพม่าแบบต่างๆ มากที่สุด จึงนับได้ว่าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เชียงแสน เป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่น่าสนใจที่สุดแห่งหนึ่งในภาคเหนือ และเรื่องศาสนาและความเชื่อโดยจัดแสดงศิลปโบราณวัตถุที่เกี่ยวเนื่องในศาสนา ความเชื่อและขนบธรรมเนียมประเพณีของกลุ่มชนชาวเชียงแสน เช่น ตุง เครื่องตั้งธรรมหลวง หีบธรรม และเจดีย์จำลอง เป็นต้น
๒. บริการนำชมและบรรยายให้แก่นักเรียน นักศึกษา และแขกของทางราชการที่ทำหนังสิอขอเข้าชมเป็นหมู่คณะ ทั้งในและนอกสถานที่
๓. จำหน่ายหนังสือทางวิชาการด้านศิลปโบารณคดีและประวัติศาสตร์ โปสการ์ด หนังสือนำชม สินค้าและหัตถกรรมพื้นบ้านของจังหวัดเชียงราย และของที่ระลึกอื่นๆ
๔. บริการฉายสไลด์และวีดิโอให้แก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป
เวลาทำการ : เปิด วันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ -๑๖-๐๐ น.
ปิด วันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
ค่าธรรมเนียมการเข้าชม : ชาวไทย ๑๐ บาท
ชาวต่างประเทศ ๓๐ บาท
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เชียงแสน พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เชียงแสน
ประวัติ
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เชียงแสน จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เพื่อรวบรวมศิลปโบราณวัตถุที่ได้จากการสำรวจขุดแต่ง และบูรณะโบราณสถานในเมืองโบราณเชียงแสนและบริเวณใกล้เคียง นำออกจัดแสดงให้ประชาชน นักศึกษา ได้ชมและศึกษาหาความรู้ ในระยะแรกได้ใช้ศาลาการเปรียญหลังเก่าของวัดเจดีย์หลวงเป็นอาคารจัดแสดงหลังแรก ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างอาคารจัดแสดงขึ้นใหม่ ๑ หลัง จึงได้เคลื่อนย้ายศิลปโบราณวัตถุไปจัดแสดงในอาคารจัดแสดงหลังใหม่ การจัดแสดงแล้วเสร็จในปี พ.ศ
๒๕๒๗ และในปี พ.ศ.๒๕๒๘ จึงได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารส่วนขยายเพิ่มเติมโดยต่อปีกของอาคารจัดแสดงหลังใหม่จนครบรูปแบบตามโครงการ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๘ กรมศิลปากรได้จัดสร้างงบประมาณเพื่อทำการซ่อมแซมอาคารและปรับปรุงการจัดแสดงใหม่และให้ทันสมัย เพื่อกระทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ
การจัดแสดง
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เชียงแสนจัดเป็นพิพิธภัณฑ์สถานประจำแหล่งโบราณคดีเมืองเชียงแสน ซึ่งเป็นเมืองที่สำคัญยิ่งเมืองหนึ่งในประวัติศาสตร์ของอาณาจักรล้านนาการบริการ
๑. บริการข้อมูลทางวิชาการให้แก่ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ตลอดจนให้ยืมสื่อการเรียนการสอน
๗๐๒ ถนนพหลโยธิน
ตำบลเวียง
อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงารย ๕๗๑๕๐
โทร. (๐๕๓) ๗๗๗-๑๐๒, ๖๕๐-๗๒๓ โทรสาร(๐๕๓) ๖๕๐-๗๒๓
เปลวรัศมี ศิลปะล้านนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ งมได้ในแม่นำโขง |
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ นำมาจากวัดพระเจ้าล้านทอง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย |
เกียรติมุข ศิลปะล้าน อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ นำมาจากวัดป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย |
ซุ้มพระพุทธรูปเคลือบใส ศิลปะล้านนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ ผลิตจากเตาเวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย |
อุบพม่า อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๕ |
เครื่องมือหินขัด สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคสังคมเกษตรกรรม พบที่อำเภอเชียงแสน |
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เชียงแสน |
ผ้าซิ่น ไทยลื้ออายุประมาณ ๓๐-๕๐ ปี จากบ้านหาดบ้าย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย |
ขอให้คุณเขียนจดหมายมาหาเรา
ให้คุณใช้ตู้ไปรษณีย์ได้ที่นี้
Schreiben Sie an Thailand online!
Mail to Thailand online!
Hier ist der Briefkasten für die Besucher von Thailand online:
Here is the Mailbox for the visitors of Thailand online:
copyright 1996 - 2005 © thailand publications, switzerland